ทำไม! เด็กชอบกัดของและจะแก้ไขอย่างไร!?

17 สิงหาคม 2022

เด็กๆ นั้นในวัย 1 ขวบจะมีฟันหน้าบนล่างขึ้นมา ทำให้เด็กๆ เริ่มกัดเคี้ยวด้วยฟันหน้า อย่างเช่น การกัดของเล่นเสริมพัฒนาการและของรอบๆ ตัวเอง

นี่เป็นการยืนยันการใช้งานฟันหน้าของเด็กที่กำลังขึ้นมาใหม่ว่าจะต้องเคลื่อนไหวอย่างไร หรือต้องใช้แรงในการกัดแค่ไหน
การกัดจะกลายเป็นนิสัยชอบกัดหรือไม่นั้น หลังจากอายุ 2 ขวบขึ้นไป จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของนิสัยการกัด จะเป็นอย่างไร มาอ่านกัน!

เป้าหมายของนิสัยชอบกัดของเด็ก

นิสัยการกัดของเด็กๆนั้น มีทั้งกัด “สิ่งของ” และกัด “คน”

หากมีนิสัยชอบกัด “คน” เด็กๆ อาจจะมีปัญหาที่โรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนได้

หากนิสัยชอบกัด “คน” ฝังรากลึก เมื่อเด็กๆ โตขึ้นแล้ว อาจจะเป็นปัญหากับเขาต่อไปถึงอนาคตเลยทีเดียว

สาเหตุของนิสัยชอบกัดของเด็ก

เรามาดูสาเหตุ 7 อย่างของนิสัยชอบกัดของเด็กกันเถอะ

① เด็กๆกำลังเรียนรู้

ตอนเป็นเด็กเล็ก ยังไม่ได้เรียนรู้ว่าการกัดสิ่งของและคนเป็นเรื่องไม่ดี

② นิสัยใจคอ

นิสัยชอบกัดนั้นอาจเป็นนิสัยที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิดก็ได้

③ ความเครียด

มีเด็กบางคนที่มีความเครียดทางจิตใจอย่างมาก ก็อาจที่จะกัดของเล่นหรือของรอบๆ ตัวจนพังเสียหายได้

④ สภาพแวดล้อมรอบตัว

หากไม่สนใจหรือสนุกสนานกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กๆ อาจจะเพลิดเพลินและรู้สึกพึงพอใจกับการใช้งานปากก็ได้

⑤ ขาดความรัก

การชี้ให้เห็นว่าเด็กๆ ขาดความรักเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับผู้ปกครองก็จริง แต่เป็นความจริงว่าเด็กๆ ที่ผู้ปกครองไม่ให้ความใส่ใจมีแนวโน้มที่จะมีนิสัยชอบกัดมากกว่า

⑥ ความเคยชิน

ในเด็กที่มีนิสัยชอบกัดนั้น มีเด็กบางคนที่รู้สึกรัก “ความรู้สึกที่ได้กัด” อยู่ด้วย

⑦ อยากแสดงความเป็นเจ้าของ

เด็กๆ มักจะมีความต้องการแสดงออกว่าสิ่งของและคนที่ตัวเองชื่นชอบเป็น “ของตัวเอง” เหมือนเป็นการทำเครื่องหมายด้วย “ลายฟันของตัวเอง” ลงไปที่สิ่งของหรือคน

แล้วจะแก้ไขปัญหาการกัดของเด็กอย่างไร?

เราจะดูวิธีการแก้ไข ” 7 สาเหตุของนิสัยชอบกัดของเด็ก”

① กรณีที่สาเหตุมาจาก เด็กๆกำลังเรียนรู้

บอกเด็กไปตรงๆ ว่า “หยุดกัดนะ” ด้วยการสื่อสารด้วยคำพูดอย่างเหมาะสม เด็กๆ จะตระหนักได้เป็นครั้งแรกว่า “การกัดเป็นเรื่องไม่ดี”

เวลาที่บอกเด็ก จำเป็นต้องพูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่นและจริงจัง สอนด้วยความอดทนซ้ำๆ จนกว่าเด็กจะเลิกนิสัยชอบกัด

ไม่อาจปฏิเสธได้อย่างเด็ดขาดว่าไม่ควรดุหรือโกรธเสียใส่เด็กเสียงดัง แต่จำเป็นต้องรู้เอาไว้ว่าการทำอย่างนั้นก่อให้เกิดผลทางลบคือเด็กจะหมกมุ่นอยู่กับการกัดมากขึ้น

② กรณีที่สาเหตุคือนิสัยใจคอ

นิสัยใจคอที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้นยากที่จะเปลี่ยนแปลงและเป็นปัญหาที่ฝังรากลึก หากนิสัยการกัดของเด็กขึ้นอยู่กับนิสัยใจคอ มันอาจจะรักษาไม่ได้ไปตลอดชีวิต ดังนั้นต้องรีบปลูกฝังเรื่องการกัดของเขา ให้เขาเข้าใจตั้งแต่เล็กๆ

③ กรณีที่สาเหตุคือความเครียด

หากเด็กๆ มีนิสัยชอบกัดรุนแรงเนื่องจากความเครียด ควรที่จะฟังเด็กช้าๆ การอ่านนิทานและกอดเด็กก็มีประสิทธิภาพดีเช่นกัน

④ กรณีที่สาเหตุคือสภาพแวดล้อมรอบตัว

จำเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกของเด็กที่หมกมุ่นอยู่กับการกัดและเรื่องสำคัญคือทำให้เด็กหันไปสนใจสิ่งอื่น

⑤ กรณีที่สาเหตุคือขาดความรัก

เด็กไม่สามารถแสดงความปรารถนาที่จะ “ให้อีกฝ่ายมาสนใจตัวเอง” ได้ด้วยคำพูดได้ ดังนั้นเด็กๆ จึงพยายามทำให้เข้าใจด้วยการกัด จงพยายามเข้าใจความรู้สึกของเด็กให้มากที่สุด

⑥ กรณีที่สาเหตุคือความเคยชิน

วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการบอกให้เด็ก “หยุดกัดนะ”

⑦ กรณีที่สาเหตุคืออยากแสดงความเป็นเจ้าของ

สำหรับเด็กที่มีนิสัยชอบกัดเพราะต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ การ “กัด” เป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง เพิ่มความถี่ในการสื่อสารด้วยการ “พูด” ให้มากขึ้น

เด็กๆทุกคนล้วนแต่ต้องการให้ความสนใจ

บางทีต้นต่อของสาเหตุดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องความต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่

ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ จะมีผลที่ดีในการตอบรับความปรารถนาของเด็กๆ ที่สามารถยินยอมได้

① ชมเชยเด็ก

ชมเชยเด็กแม้จะเป็นเรื่องที่เล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม โดยจะส่งผลลัพธ์ที่ดีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กที่ไม่เคยได้รับคำชมมาก่อน

② ขอบคุณเด็ก

ถ้าผู้ปกครองขอบคุณเด็ก พวกเขาจะภูมิใจในตัวเอง เมื่อความภาคภูมิใจของเด็กเพิ่มขึ้น นิสัยชอบกัดของเด็กมักจะดีขึ้นตามไปด้วย

③ ฟังเรื่องราวของเด็ก

เพื่อเป็นการเติมเต็มความปรารถนาของเด็กๆ ที่สามารถยินยอมได้ สิ่งสำคัญคือต้องฟังเรื่องราวของเด็กๆ ให้มากๆ เมื่อเด็กๆ เคยชินกับการพูดแสดงความรู้สึก นิสัยชอบกัดก็มักจะดีขึ้นเป็นอย่างมากด้วย

สรุป

วิธีแก้ไขนิสัยชอบกัดของเด็กๆ ได้มีการอธิบายไว้ที่สาเหตุของนิสัยชอบกัดก่อนหน้านี้แล้ว
ถึงแม้ว่าจะเร่งรีบใช้วิธีการแก้ไข ก็อาจไม่ได้รับผลลัพธ์ที่ดีได้
การอธิบายสาเหตุข้างต้นก็ทำให้เข้าใจแล้วว่า “นิสัยชอบกัดมักจะปรากฏเมื่อใดได้ง่าย”
สิ่งสำคัญคือต้องให้ความสำคัญกับปัญหาทางจิตใจของเด็ก โดยไม่ควรคำนึงถึงแค่เรื่องปรากฏการณ์การกัดเคี้ยวเท่านั้น

สถานที่แนะนำ